Journal of Energy Research vol.8 no.3, 2011

Detail:

  1. บทคัดย่องานวิจัยนี้ศึกษาการนำตะกอนเปียกเพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทน โดยการนำมาวิเคราะห์สมบัติเบื้องต้นและค่าความร้อน พบว่า มีปริมาณคาร์บอน คงตัวต่ำซึ่งเป็นส่วนที่เผาไหม้ให้พลังงานร้อยละ 13.33 และค่าความร้อนต่ำคือ 13,864.38 KJ/kg จึงเหมาะสมในการนำมาวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพก่อนนำไปใช้งาน จากนั้นนำไปคาร์บอไนเซชันในสภาวะต่างๆที่อุณหภูมิ 400, 450,500และ 550°C ในแต่ละช่วงอุณหภูมิทำการทดลองที่ระยะเวลา 30, 45, 60 และ 90 นาที ในภาวะจำกัดออกซิเจน จากการทดลองพบว่า ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการคาร์บอไนเซชันตะกอนเปียก คือ
    อุณหภูมิ 500°C ที่ระยะเวลา 60 นาที โดยภาวะดังกล่าว มีความชื้น 1.17% สารระเหย 16.57% เถ้า 34.42% และคาร์บอนคงตัว 47.84% เมื่อทราบภาวะคาร์บอไนเซชันที่เหมาะสมจึงนำตะกอนเปียกมาอัดแบบร้อนและแบบเย็นเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้พลังงานความร้อน พบว่า ถ่านอัดแบบเย็นมีปริมาณคาร์บอนคงตัวสูง ซึ่งเป็นส่วนที่เผาไหม้ให้พลังงานร้อยละ 59.01 และค่าความร้อน24,790.38 KJ/kg ในขณะที่ถ่านอัดแบบร้อนมีปริมาณคาร์บอนคงตัวร้อยละ 42.66 และค่าความร้อน 20,257.25 KJ/kg สำหรับการผลิตถ่านทั้ง 2 แบบในเชิงพาณิชย์ ถ่านอัดแบบร้อนมีต้นทุน0.17 บาท/ก้อน ราคาขาย 0.525 บาท/ก้อน จำนวนการผลิตที่จุดคุ้มทุน 704,225 ชิ้น ระยะเวลาคืนทุน 0.18 ปี ถ่านอัดแบบเย็นมีต้นทุน 0.3175 บาท/ก้อน ราคาขาย 1.05 บาท/ก้อน จำนวนการผลิตที่จุดคุ้มทุน 338,524 ชิ้น ระยะเวลาคืนทุน 0.17 ปี โดยอ้างอิงจากต้นทุนคงที่ 250,000 บาท ราคาขายถ่านทั้ง 2 แบบราคา 10.5 บาท/กิโลกรัม ระยะเวลาคืนทุนคิดเทียบกับกำลังการผลิตของเครื่องจักรคำสำคัญ : คาร์บอไนเซชัน, ตะกอนเปียก, ถ่านอัดแบบร้อน, ถ่านอัดแบบเย็น

  2. บทคัดย่อHydrothermal treatment of biomass is one of the most promising technologies for converting biomass into a higher value-added form. In the past decade, it is well recognized that palm oil production is one of the major industries in Thailand, which generates many residues of palm kernel shell. This work focuses on utilizing hydrothermal treatment of cellulose in palm kernel shell residues for 5-hydroxymethyl-furfural (5-HMF) production. Because the palm kernel shell residues mainly contain cellulose of 60 wt%, it would possibly provide a high yield of sugar products. Palm kernel shells residues were treated by alkali solutions before adding into a batch-type tubular reactor. A series of systematic experiments were performed in a reaction temperature range of 200 to 300 °C, heating rate ranging from 5 to 10 °C/min, concentration of palm kernel shell residues (feedstock) at 10 and 20 wt%, and lignin content in a range of 3-10%. Moreover, effect of adding of 2-butanol as
    extracting solvent was also investigated in order to increase the 5-HMF yield in liquid product. It was found that the 5-HMF yield was dependent on the reaction temperature, heating rate, concentration of feedstock and lignin content. Furthermore, the experimental results showed that 2-butanol was a good selective solvents for the production of 5-HMF in the hydrothermal treatment process. In addition, liquid product obtained from the hydrothermal treatment consisted of 1,3-dihydroxyacetone dimer, formic acid, acetaldehyde, acetic acid and furfural.Keyword : Hydrothermal, Palm kernel shell, 5-hydroxymethylfurfural

  3. บทคัดย่องานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมของการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารที่มีความแตกต่างกันของกรณีตัวอย่าง คือ ระบบ CSTR แบบแห้ง ระบบ CSTR แบบ1–ขั้นตอน และ ระบบ CSTR แบบ AMR ซึ่งทั้ง 3 ระบบมีขนาดการรองรับเศษอาหารใกล้เคียงกันคือประมาณ 200 กิโลกรัมเศษอาหารต่อวัน โดยศึกษาเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมและมีความคุ้มค่าเพื่อวิเคราะห์ความเป็น ไปได้ทางด้านการเงินและการลงทุน การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน มีเกณฑ์การตัดสินใจลงทุน คือ อัตราผลตอบแทน ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา ค่าเสียโอกาสที่ดิน โดยผลประโยชน์ประกอบด้วย ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ย ลดกลิ่น อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมพร้อมยังเป็นการช่วยบรรเทาการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลการศึกษาพบว่าระบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารในขนาด 200 กิโลกรัมเศษอาหารต่อวัน เดินระบบ 365 วัน/ปี อายุของโครงการ 15 ปี ให้แก๊สชีวภาพโดยเฉลี่ย 4,147 กิโลกรัม(แก๊ส)/ปี เทคโนโลยีที่ให้ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุดคือ เทคโนโลยี CSTR 1-Stage อัตราผลตอบแทน IRR เท่ากับ 47.10% และระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุดคือ 2.12 ปีคำสำคัญ : ก๊าซชีวภาพ ขยะเศษอาหาร การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน

  4. บทคัดย่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าของมันสำปะหลังที่นำไปใช้ในการผลิตเอทานอลโดยการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อเปรียบเทียบหาความคุ้มค่าในการลงทุนและคิดมูลค่าย้อนกลับเพื่อหามูลค่าส่วนเพิ่มของมันสำปะหลัง ในการศึกษานี้แบ่งโรงงานเอทานอลออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) เป็นกรณีที่ยังไม่ได้นำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเอทานอลไปใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานทดแทน เช่น น้ำกากส่าและเปลือกมันสำปะหลังสดนำไปเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น 2) เป็นกรณีที่มีการนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเอทานอลไปผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อทดแทนน้ำมันเตา เป็นต้น และ 3) เป็นกรณีที่นำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเอทานอลไปผลิตไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และนำมาวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน การวิเคราะห์ความอ่อนไหว และมูลค่าเพิ่มของมันสำปะหลัง เพื่อคิดหามูลค่าย้อนกลับของมันสำปะหลัง จากการวิเคราะห์พบว่า กรณีที่ 2 ให้ผลตอบแทนสูงกว่ากรณีอื่นๆ นอกจากนี้ผลจากการวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของราคามันสำปะหลังเทียบกับค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมันเตา ราคาเอทานอล และผลตอบแทนการลงทุน(IRR) ได้พบว่ากรณีที่ 2 มีความยืดหยุ่นต่ำสุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคามันสำปะหลังมีผลทำให้ผลตอบแทนทางการเงิน ต้นทุนค่าไฟฟ้า และต้นทุนค่าน้ำมันเตา เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม แต่ราคาขายเอทานอลเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันคำสำคัญ : มูลค่าย้อนกลับของมันสำปะหลัง การวิเคราะห์ทางการเงิน การวิเคราะห์ความอ่อนไหว

  5. บทคัดย่อการศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทยกรณีศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยในการกำหนดแนวทางสำหรับการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทยในอนาคต โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เกี่ยวกับความคิดเห็นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของเตาเผาขยะมูลฝอย ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอในรูปแบบของตารางแจกแจงความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ยในภาพรวมปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลภูเก็ต เกิดจากเรื่องกลิ่นเหม็นบริเวณรอบเตาเผาและฝุ่นควัน ซึ่งทำให้ประชาชนโดยรอบเกิดความไม่มั่นใจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของเตาเผาขยะมูลฝอยในภาพรวม อันจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดทัศนคติในแง่ลบต่อโรงไฟฟ้าขยะดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับมิติต่างๆ ในการบริหารจัดการด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับการวางแผนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในอนาคต โดยเน้นที่การปรับโครงสร้างแรงจูงใจในการบริหารจัดการ ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้แก่การคัดแยกขยะ ไปจนถึงปลายน้ำ ได้แก่การตั้งโรงไฟฟ้า เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการและกระจายอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่คำสำคัญ

  6. บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลการลดอุณหภูมิอากาศภายในศูนย์จัดเก็บอะไหล่ โตโยต้า พาร์ท เซ็นเตอร์ เอเชีย แปซิฟิก จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นคลังสินค้าบนพื้นที่ 63,000 ตารางเมตร ด้วยการติดตั้งพัดลมติดผนังชนิดดูดอากาศ (Propeller Ventilation Fan) จำนวน 7 ตัว พบว่าอุณหภูมิอากาศที่วัดได้ภายหลังจากติดตั้งพัดลมชนิดนี้ ลดลงมากที่สุด 0.5 องศาเซลเซียส ณ บริเวณตำแหน่งที่ติดตั้งพัดลมด้านหลังอาคาร ซึ่งพื้นที่ที่อุณหภูมิอากาศลดลงคิดเป็นร้อยละ 26.6 จากพื้นที่ที่ครอบคลุมระยะความยาวทั้งหมด 225 เมตร และอัตราการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดอยู่ที่ 661.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน จากการสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน ส่วนใหญ่แสดงข้อคิดเห็นว่าอากาศภายในคลังสินค้า ยังรู้สึกร้อนเช่นเดิม คิดเป็นร้อยละ 82% จากจำนวนพนักงานทั้งหมด

    คำสำคัญ :การติดตั้งพัดลม, การระบายอากาศ

  7. บทคัดย่อการศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างตัวแบบพยากรณ์ทางสถิติของความเร็วลมด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการแยกส่วนประกอบของอนุกรมเวลา ข้อมูลความเร็วลมได้ถูกเก็บรวบรวมโดยหน่วยวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์-ลม มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ระดับความสูง 20 เมตร ตามแนวชายฝั่งของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2553 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ราย 3 ชั่วโมง จำนวน 488 ค่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ความเร็วลมวันที่ 1 ถึง 31 สิงหาคม 2553 ราย 3 ชั่วโมง จำนวน 248 ค่า การเปรียบเทียบความแม่นยำของ 2 วิธีการพยากรณ์ด้วยเกณฑ์ของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) ที่ต่ำที่สุด พบว่า วิธีการแยกส่วนประกอบของอนุกรมเวลาในรูปแบบบวกให้ความแม่นยำในการพยากรณ์สูงกว่าวิธีบอกซ์-เจนกินส์คำสำคัญ :ความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย ความเร็วลม วิธีการแยกส่วนประกอบของอนุกรมเวลา วิธีบอกซ์-เจนกินส์

  8. บทคัดย่อบทความนี้เสนอแนวคิดและแนวทางการปรับปรุงระบบค็อกพิทของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ตามหลักการค็อกพิทการจัดการ เพื่อให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารนโยบายด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและเชื่อถือได้ในกิจการไฟฟ้าไทยได้อย่างมีประสิทธิผล แนวทางการออกแบบพิจารณาจากแผนยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน ที่มีการกำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดการดำเนินงาน รวมถึงกลยุทธ์หลักที่ใช้ดำเนินการ ผนัง (Wall) สำหรับแสดงผล กำหนดไว้ทั้งสิ้น 5 ผนัง จำแนกตามประเด็นสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านมาตรฐานกิจการพลังงาน ด้านประสิทธิภาพกิจการพลังงาน ด้านการบริหารจัดการและการแข่งขันในกิจการพลังงาน ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้พลังงาน และด้านการพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพ ในส่วนของมุมมอง ได้กำหนดเป็นกลยุทธ์หลัก หรือวิธีดำเนินการ โดยข้อมูลภายในกรอบ แสดงค่าตัวชี้วัดในยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน หรือข้อมูลสำคัญของยุทธศาสตร์นั้นๆ ผลที่ได้ นอกจากทำให้การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการแสดงผลเป็นระบบมากขึ้นแล้ว ยังสามารถนำแนวคิดไปต่อยอดจัดทำระบบค็อกพิทสำหรับการบริหารงานด้านอื่นๆ ของ สกพ.ต่อไปคำสำคัญ :ค็อกพิทการจัดการ, กิจการไฟฟ้า, ความมั่นคงและเชื่อถือได้ของไฟฟ้า, การกำกับกิจการพลังงาน

Volume : 8    Issue : 3    Year : 2011

in: Journal of Energy Research
total views : 9,953 views