Journal of Energy Research vol.8 no.2, 2011

Detail:

  1. บทคัดย่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามแนว ทาง  การจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมในกลุ่มอุตสาหกรรม 4 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (TSIC 31)  อุตสาหกรรมสิ่งทอ (TSIC 32) อุตสาหกรรมกระดาษ (TSIC 34) และ อุตสาหกรรมเคมี (TSIC 35)  โดยสร้างสมการเชิงเส้นแบบง่ายแสดงความสัมพันธ์ของการใช้พลังงานและปริมาณการ ผลิตในแต่ละอุตสาหกรรม คำนวณค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC) และตรวจติดตามการใช้พลังงาน  โดยประยุกต์ใช้หลักการทางสถิติ คือ กราฟ CUSUM ซึ่งแสดงให้เห็นช่วงที่มีการใช้พลังงานผิดปกติ    ในกระบวนการผลิต            ผลที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ คือ ได้สมการตัวแทนการใช้พลังงานและค่า SEC ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย  ซึ่งค่า SEC นี้จะใช้เป็นค่าอ้างอิงเพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกลุ่ม อุตสาหกรรมที่มีลักษณะการผลิตใกล้เคียงกัน   นอกจากนี้จากกราฟ CUSUM แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้พลังงาน ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพต่อไปคำสำคัญ : ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน, กราฟ CUSUM, การจัดการพลังงาน

  2. บทคัดย่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยหาค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (specific energy consumption, SEC) ของโรงงานควบคุมตัวอย่างใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตไม้และเครื่องเรือน (TSIC 33) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ (TSIC 36) อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐาน (TSIC 37) และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ (TSIC 38) ด้วยการหาสมการถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย หรือแบบพหุของการใช้พลังงานและปริมาณผลผลิต และประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ด้วยกราฟค่าผลรวมสะสมของความแตกต่าง (cumulative sum of different, CUSUM) เพื่ออธิบายพฤติกรรมการใช้พลังงาน ทำให้เพิ่มความสามารถในการตรวจติดตามประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอดีตที่ผ่าน มา ซึ่งจะเป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานของโรงงานต่อไป ส่งผลให้เกิดระบบการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ คือ ข้อมูลการใช้พลังงานของโรงงานควบคุมในกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐานนั้นมี ความเสถียร แสดงถึงการจัดการพลังงานที่ดี ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ และอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยังมีโรงงานที่ต้องเร่งพัฒนาการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ได้สมการตัวแทนการใช้พลังงานและค่า SEC ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถใช้เป็นค่าอ้างอิงสำหรับการใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิตในการประเมิน ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานที่มีการผลิตใกล้เคียงกับโรงงานในกลุ่ม อุตสาหกรรมนั้นคำสำคัญ : การจัดการพลังงาน, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน, ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ, สมการถดถอย, CUSUM

  3. บทคัดย่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการ อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในโรงงานควบคุม โดยทำการคัดเลือกปัจจัยที่คาดว่ามีผลต่อประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ปัจจัยด้านมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ปัจจัยด้านความร่วมมือของบุคลากรในโรงงานควบคุม และปัจจัยอื่นๆ เช่น ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิต ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบสนับสนุนการผลิต เป็นต้น  จากนั้นพิสูจน์ผลประหยัดพลังงานไฟฟ้าของโรงงานควบคุมเพื่อคัดเลือกโรงงานควบ คุมที่ผลประหยัดพลังงานไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับมาตรการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ในช่วงเวลาเดียวกัน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้ากับ ปัจจัยที่มีผลด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้ร้อยละของผลประหยัดที่ได้รับจริงจากมาตรการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเป็น ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าคือ คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิต ความสนใจของผู้บริหารและความร่วมมือของพนักงาน เงินลงทุนในการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบแสงสว่าง และได้สมการความสัมพันธ์เป็น %saving = 3.183 + 14.413 qualification – 1.600×10-6 process – 2.672 cooperation1 + 1.4×10-6 investment – 3.000×10-7 light – 2.115 cooperation2คำสำคัญ : ผลประหยัดพลังงาน, ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน, มาตรการอนุรักษ์พลังงาน, ปริมาณการใช้พลังงาน, การอนุรักษ์พลังงาน, การจัดการพลังงาน

  4. บทคัดย่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือ ทางสถิติในการตรวจติดตามการใช้พลังงาน แสดงให้เห็นถึงผลประหยัดที่เกิดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และประเมินประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของโรงงานควบคุม เครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ แผนภูมิการกระจาย (scatter diagram) และแผนภูมิควบคุมผลรวมสะสม (cumulative sum control chart หรือ CUSUM control chart) ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า และปริมาณผลผลิตของโรงงานควบคุมตัวอย่างจำนวน 34 โรงงาน คือ มีจำนวนโรงงานที่มีผลประหยัดหรือมีความชันของแผนภูมิควบคุมสะสมเป็นลบทั้ง สิ้น 21 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 61.76 ของจำนวนโรงงานตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ และอีก 13 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 38.24 ที่มีความชันของแผนภูมิควบคุมสะสมเป็นบวกหรือไม่มีผลประหยัดพลังงาน ในจำนวน 21 โรงงานที่มีผลประหยัดมีร้อยละผลประหยัดเฉลี่ย 7.52 เมื่อพิจารณาเฉพาะโรงงานที่มีร้อยละผลประหยัดตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป พบว่ามาตรการอนุรักษ์พลังงานที่มีความถี่ในการจัดทำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) การกำหนดเวลาเปิด – ปิดที่เหมาะสม 2) การใช้สวิตช์ควบคุมการปิด – เปิด 3) บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์นอกจากแสดงให้เห็นถึงผลประหยัดจากการอนุรักษ์พลังงานแล้ว วิธีการในงานวิจัยนี้ยังสามารถใช้ในการกำหนดเป้าหมายในการอนุรักษ์พลังงาน ของโรงงานได้ด้วย การจัดการพลังงานที่ดี โดยการตรวจติดตามและกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในโรงงาน อุตสาหกรรมได้คำสำคัญ : การตรวจติดตามการใช้พลังงาน, แผนภูมิควบคุมผลรวมสะสม, การใช้สถิติเพื่อควบคุมกระบวนการผลิต, การจัดการพลังงาน

  5. บทคัดย่องานวิจัยนี้กล่าวถึงการออกแบบสร้างระบบอัจฉริยะควบคุม ความสว่างของหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยใช้โปรโตคอล DALI ระบบนี้สามารถรองรับหลอดไฟได้สูงสุด 64 ชุด ตัวบัลลาสต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และไอซีควบคุมการเปิดปิดและปรับความสว่าง ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ตัวควบคุมส่วนกลางประกอบด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดความสว่าง รวมทั้งจอ LCD สำหรับแสดงสถานะ ตัวควบคุมนี้สามารถสั่งการควบคุมระบบแสงสว่างได้ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบโดย ตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบไร้สายด้วย Zigbee โมดูล งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองและวิเคราะห์ผลและเปรียบเทียบการนำระบบอัจฉริยะควบ คุมความสว่างมาประยุกต์ใช้งานกับสถานที่ตัวอย่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ประหยัดพลังงานของระบบแสงสว่างในอาคารคำสำคัญ : DALI, อุปกรณ์ตรวจวัดความสว่าง, ระบบควบคุมแสงสว่าง, Zigbee

  6. บทคัดย่อ

    งานวิจัยนี้กล่าวถึงการใช้พลังงานของเตาเผาที่มีการติดตั้งหัวเผารีเจน เนอเรทีฟร่วมกับรีคูเพอเรเตอร์และหัวเผาธรรมดาเพื่อนำความร้อนปล่อยทิ้งจาก เตาเผาเหล็กมาอุ่นอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ โดยเตาเผามีขนาด 30 ตัน/ชั่วโมง แบบ pusher type และใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้ความร้อนแก่เหล็กแท่งขนาด 120 มม. x 120 มม. ยาว 4000 มม. ข้อมูลจากการตรวจวัดและการวิเคราะห์สมดุลพลังงาน พบว่า ความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่หัวเผารีเจนเนอเรทีฟ คิดเป็น 47.4% ความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่หัวเผา คิดเป็น 37.0% ความร้อนจากการอุ่นอากาศที่รีคูเพอเรเตอร์ คิดเป็น 7.4% และความร้อนของอากาศภายนอกและสเกลประมาณ 8.3% เท่านั้น นอกจากนี้เตาเผาที่มีการติดตั้งหัวเผารีเจนเนอเรทีฟและรีคูเพอเรเตอร์ร่วม กันสามารถประหยัดพลังงานมากกว่าเตาเผาตัวอย่างเดิมที่ติดตั้งเพียงรีคูเพ อเรเตอร์เพียงอย่างเดียวถึง 43%

    คำสำคัญ :สมดุลความร้อน, สมดุลมวล, เตาเผาเหล็ก, การประหยัดพลังงาน, หัวเผารีเจนเนอเรทีฟ

  7. บทคัดย่อไบโอดีเซลนับว่าเป็นพลังงานทางเลือกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ วัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตไบโอดีเซลได้แก่ น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ น้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็กและผลิตภัณฑ์จากของเสีย โดยทั่วไปการผลิตไบโอดีเซลในภาคอุตสาหกรรมนิยมใช้ด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา อย่างไรก็ตามพบว่าการเร่งปฏิกิริยาด้วยกระบวนการทางชีวภาพกำลังได้รับความ สนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ใช้พลังงานน้อยกว่า สามารถใช้กับวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังมีความบริสุทธิ์สูง สามารถลดค่าใช้จ่ายของกระบวนการหลังการผลิต เพราะสามารถแยกผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกง่าย อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย แม้ว่าจะมีการศึกษาอย่างกว้างขวางในการใช้เอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาทรานส์ เอสเทอริฟิเคชัน กลับพบว่าราคาของเอนไซม์ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการที่จะนำไปใช้ในระดับ อุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่าความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์มีความจำเป็นต่อกระบวน การผลิตไบโอดีเซลแบบยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม บทความนี้ได้สรุปเกี่ยวกับการใช้เอนไซม์ไลเปสเพื่อเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเท อริฟิเคชัน รวมถึงปัจจัยต่างๆ เช่น วัตถุดิบ ชนิดของตัวรับหมู่เอซิล อัตราส่วนโดยโมลของสารตั้งต้น ปริมาณน้ำที่ใช้ อุณหภูมิของปฏิกิริยาและรูปแบบการทำงาน ซึ่งมีผลสำคัญต่อความเป็นไปได้ในการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพื่อการผลิต ไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์คำสำคัญ :ไบโอดีเซล ทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน ไลเปส น้ำมันพืช

Volume : 8    Issue : 2    Year : 2011

in: Journal of Energy Research
total views : 29,627 views