Journal of Energy Research vol.6 no.1, 2009

Detail:

  1. บทคัดย่อ

    Unified power flow controller (UPFC) เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังประเภทหนึ่งที่สามารถควบคุมการไหลของกำลังไฟฟ้าจริง กำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟ และควบคุมระดับแรงดันที่บัสได้ จากคุณสมบัติที่ดีในการควบคุมดังกล่าวข้างต้น จึงมีแนวคิดที่จะนำอุปกรณ์ UPFC มาติดตั้งในระบบไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงสมรรถนะของระบบไฟฟ้ากำลัง อย่างไรก็ตามผลการปรับปรุงคุณสมบัติของระบบไฟฟ้ากำลังดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ากำลังซึ่งอาจจะทำให้ดีขึ้นหรือแย่ลงก็ได้
    งานวิจัยนี้จะนำเสนอวิธีการประเมินผลกระทบของการติดตั้งอุปกรณ์ UPFC ที่มีต่อความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ากำลังด้วยวิธีการจำลองเหตุการณ์แบบมอนติคาร์โล พร้อมทั้งพิจารณาวิธีการแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระบบโดยการเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตประกอบกับการตัดโหลดอย่างเหมาะสม สำหรับแบบจำลองของ UPFC ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์นี้อาศัยแบบจำลองแบบ voltage source converter (VSC) ซึ่งเป็นแบบจำลองที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวิธีการคำนวณการไหลของกำลังไฟฟ้าแบบ Newton-Raphson ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลของดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ากำลังก่อนและหลังการติดตั้งอุปกรณ์ UPFC
    คำสำคัญ : อุปกรณ์ UPFC, ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ากำลัง, การจำลองเหตุการณ์แบบมอนติคาร์โล

  2. บทคัดย่อ

    บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นของการออกแบบพัฒนาและทดลองประยุกต์ใช้แบบจำลองการวิเคราะห์ความต้องการและกำหนดที่ตั้งตำแหน่งสถานีไฟฟ้าแห่งใหม่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต โดยเริ่มจากการวิเคราะห์พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตในพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แล้วสังเคราะห์เป็นข้อมูลโหลดไฟฟ้าในอนาคตของหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม รวมทั้งกำหนดตำแหน่งจุดความต้องการไฟฟ้าใหม่เพิ่มลงในโครงข่ายระบบไฟฟ้าที่มีอยู่ นำข้อมูลโครงข่ายและจุดตำแหน่งโหลดในอนาคตที่ได้มาวิเคราะห์จัดสรรโหลดไฟฟ้าที่ออกจากสถานีไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์การวางแผนระบบไฟฟ้าของ กฟภ. และเงื่อนไขของระบบสายจำหน่ายที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด และในกรณีที่โหลดรวมในอนาคตเกินขีดความสามารถของสถานีไฟฟ้าเดิมก็ทำการวิเคราะห์จัดสรรจัดวางตำแหน่งของสถานีไฟฟ้าแห่งใหม่ รวมทั้งวิเคราะห์จัดสรรเส้นทางระบบจำหน่ายไฟฟ้าของแต่ละสถานีไฟฟ้าใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ได้ทำการออกแบบพัฒนาแบบจำลองตามขั้นตอนดังกล่าว และทดลองดำเนินการวิเคราะห์กับข้อมูลจริงเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้และถูกต้องของแบบจำลองที่พัฒนาขึ้น รวมทั้งเพื่อพัฒนาเป็นกระบวนการขั้นตอนของการดำเนินงานด้าน GIS ที่เกี่ยวข้อง โดยในงานวิจัยใช้ชุดโปรแกรม ArcGIS เวอร์ชั่น 9.1 เป็นเครื่องมือ ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาระบบจำหน่ายให้บริการทรัพยากรผ่านระบบโครงข่าย เพื่อนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องต่อไป
    คำสำคัญ : การวิเคราะห์กำหนดตำแหน่งสถานีไฟฟ้า, การวิเคราะห์เชิงโครงข่าย, การจัดสรรพื้นที่บริการ, การวางแผนขยายระบบจำหน่าย, การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าเชิงพื้นที่

  3. Abstract

    The aim of this research is to develop key performance indicators (KPIs) suitable for controlling and evaluating service quality performances of Electricity Generating Authority of Thailand, so that the execution would follow organization goals; i.e. electricity supply is sufficient without a burden to economic growth, and a chance of being a world-class organization in electricity infrastructure business is boosted. The research starts with collecting all related KPIs and categorizing them to four aspects based on EU’s concept; i.e., quality, continuity, reliability, and customer satisfaction. The most favorable KPIs is chosen by questionnaire responses from the directors of Electricity Power Control System. They are based on best fit to the organization and data availability. Weighting approach is applied to make various scores in KPIs. This approach can be formulated by using Analytical Network Process (ANP) resulting in attaining the most appropriate 8 KPIs which are suitable to the organization’s requirements. Also, it covers four aspects of KPIs as stated earlier.
    Key words : Analytical Network Process, ANP, Key Performance Indicators, KPIs, Service Quality

  4. Abstract

    The purpose of this research is to study and develop key performance indicators (KPIs) that are practically suitable and reflecting the actual operations of electricity distribution companies. They also employ for control and evaluation the operations against the standard of agreed service quality. The research starts with the study and collecting of KPIs presently used in the electrical distribution companies in Thailand and then benchmark them with electrical distribution companies in the other countries. According to the EU perception, the indices are classified into 5 categories, i.e. quality, continuity, reliability, customer satisfaction and others. In the next step, involved officers from the electricity distribution companies are inquired to select KPIs from provided according to their opinion, are suitable for their owned organizations and score their points of view in terms of service quality, consistency of the organization, and readiness of the data for all KPIs through the systematically designed questionnaire. Thereafter, Analytical Network Process (ANP) is applied to the collected data. The Super Decision is used to analyse all the obtained information. The results will illustrate each utility perception on its owned service category which will then be used in selecting the KPIs. With this process it is assured the final selected KPIS will be suitable and complied with utility and customer requirements. Finally, there are 12 KPIs to verify distribution utility service performance. The involved officers and Stakeholders are agree with these results.
    Keyword : Analytical Network Process, Key Performance Indicators, Service Quality

  5. บทคัดย่อ

    ปัญหาพลังงานที่ทวีความรุนแรงในปัจจุบันทำให้มีความสนใจที่จะพัฒนาพลังงานใหม่ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล กระบวนการผลิตเอสเทอร์จากน้ำมันพืชใช้แล้วเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ในการพัฒนาพลังงานทดแทนสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำ หรือนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลใช้เป็นน้ำมันไบโอดีเซล ในทางปฏิบัติพบว่าปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอสเทอร์จากกระบวนการทรานส์-เอสเทอริฟิเคชั่น (trans-esterification) จะให้กลีเซอรอลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีความไม่บริสุทธิ์สูง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตเครื่องสำอาง งานวิจัยที่ผ่านมามีการศึกษาการแตกตัวด้วยความร้อนในการแตกตัวของสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ไปเป็นโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนขนาดเล็กที่มีสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซล งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการแตกตัวด้วยความร้อนของกลีเซอรอลจากกระบวนการผลิตเอสเทอร์เพื่อให้ได้เป็นเชื้อเพลิงเหลว โดยศึกษาในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.925 เซนติเมตร ความยาว 12 เมตร ภายใต้ภาวะอุณหภูมิ 380 – 550 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนของสารตั้งต้น 3 – 12 กรัมต่อนาที ในภาวะไร้ออกซิเจนภายใต้บรรยากาศของแก๊สไฮโดรเจน 1 – 10 มิลลิลิตรต่อนาที พบว่าภาวะที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนไปเป็นของเหลวได้สูงสุดถึงร้อยละ 94 ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนของสารตั้งต้น 3.30 กรัมต่อนาที เมื่อนำผลิตภัณฑ์ของเหลวไปวิเคราะห์องค์ประกอบตามคาบจุดเดือดด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตรกราฟพร้อมซอฟต์แวร์จำลองการกลั่นพบว่าให้ ร้อยละของดีเซล 50.13 ในขณะที่ให้แกโซลีน 11.99 %wt น้ำมันก๊าด 10.61 %wt กากน้ำมัน 22.03 %wt โดยมีของแข็งและแก๊สไฮโดรคาร์บอนเบาเกิดขึ้นเล็กน้อยประมาณ 5.24 %wt
    คำสำคัญ : เมทิลเอสเทอร์, กลีเซอรอล, การแตกตัวด้วยความร้อน, แก๊สออยล์

  6. Abstract

    This paper presents empirical models of energy sources in a development of a hybrid fuel cell propulsion system for a scooter including a 1.2 kW proton exchange membrane fuel cell, a sealed lead acid battery and a supercapacitor. Parameters of each energy source model were determined by testing which implemented by programmable electronic load. For the purpose of the reliability to apply these energy source models, a set of selected driving cycles load were used to assess the accuracy of the energy source models. The fuel cell model shows a 3.4% error in the prediction of the fuel consumption, and the maximum error of the voltage prediction is 5.4%. The battery model shows a 2.1% error in prediction of the state of charge, and the maximum error of the voltage prediction is 5.7%. The supercapacitor model shows that the voltage prediction that indicates the state of the stored energy has 2.0% error. In conclusion, the assessments show that the energy source models presented have adequate accuracy and can be applied to the design of the hybrid fuel cell propulsion system.
    Keywords :

  7. บทคัดย่อ

    งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาศักยภาพการระบายอากาศของปล่องแสงอาทิตย์ ที่เป็นผลมาจากการให้ความร้อนเทียบเคียงกับรังสีดวงอาทิตย์แก่ปล่องทดลองในระดับความเข้มตั้งแต่ 300- 800 วัตต์ต่อตารางเมตร โดยจำลองกล่องทดลองขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 2.4 เมตร เจาะช่องเปิดให้ลมเข้าด้านล่างกล่องขนาด 0.15 เมตร และต่อปล่องแสงอาทิตย์ที่ด้านบนกล่องขนาด กว้าง 0.2 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1.9 เมตร ส่วนในปล่องแสงอาทิตย์จะใช้วัสดุกระจกและแผ่นอลูมิเนียมพ่นสีดำทำให้เกิดการกักเก็บความร้อนไว้ในปล่องมากที่สุดเพื่อทำให้เกิดแรงผลักดันและดึงอากาศในกล่องทดลองมาแทนที่ จึงต้องควบคุมปัจจัยทางด้านสภาพอากาศโดยรอบกล่องทดลองด้วย จากนั้นนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สามารถใช้ทำนายอัตราความเร็วลมจากความร้อนที่ต่างกันได้ ผลจากการศึกษาพบว่า อัตราการระบายอากาศแปรผันตรงกับระดับระดับความเข้มรังสีอาทิตย์ โดยอัตราการระบายอากาศที่เกิดในกล่องทดลองมีค่าต่ำสุด 0.03 m3/s ที่ความร้อน 300 วัตต์ต่อตารางเมตร และมีค่าสูงสุด 0.11 m3/s ที่ความร้อน 800 วัตต์ต่อตารางเมตร และการเพิ่มความร้อน 100 วัตต์ต่อตารางเมตร จะทำให้อัตราการระบายอากาศสูงขึ้น 0.01 m3/s ผลที่ได้จากการทดลองนี้ สามารถนำไปเสนอเป็นแนวทางการออกแบบปล่องแสงอาทิตย์ที่ใช้กับตึกแถวในประเทศไทยได้ และจากการประเมินศักยภาพการใช้ปล่องแสงอาทิตย์ในตึกแถว ประเทศไทยนั้น สามารถใช้ได้ดีในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน เพราะจะทำให้อุณหภูมิที่หน้าผิวหนังอยู่ในสภาวะน่าสบายพอดี ส่วนช่วงเดือนอื่นๆ การใช้ปล่องแสงอาทิตย์จะทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังต่ำกว่าปกติ แต่สามารถนำมาใช้ระบายอากาศเพื่อให้เกิดคุณภาพอากาศที่ดีในอาคารได้ตลอดปี
    คำสำคัญ :ศักยภาพการระบายอากาศ, ปล่องแสงอาทิตย์, อัตราความเร็วลม, ความร้อนแสงอาทิตย์

Volume :6    Issue : 1    Year : 2009

in: Journal of Energy Research
total views : 71,468 views