โครงการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัจจัยการขับเคลื่อนทิศทางยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศไทย
ภายใต้หัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ และประสิทธิภาพพลังงาน”
เสนอ
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
จัดทำโดย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สถาบันวิจัยพลังงาน)
**************************************************************
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างกลไกและพัฒนากระบวนการด้านข้อมูลพลังงานทดแทนและพลังงานอื่นๆ ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานในระดับสากล
- เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารข้อมูลและการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานต่อสาธารณชนด้วยรูปแบบที่สามารถขยายผลแนวคิดในการอนุรักษ์พลังงานหรือการปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานที่เหมาะสมกับตนเองและบริบทของสังคมได้
- เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลพลังงานทดแทนและพลังงานอื่นๆ ของประเทศไทยซึ่งมีลักษณะเป็น cyber based ให้เป็นศูนย์ที่มีความน่าเชื่อถือและยอมรับในด้านข้อมูลแก่บุคคลทั่วไป
- เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องข้อมูลพลังงานโดยมุ่งเน้นสร้างความตระหนักถึงสถานการณ์ด้านพลังงานบนพื้นฐานข้อมูลที่ไม่บิดเบือนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการพลังงานของประเทศในระยะยาว
บทนำ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการถือเป็นความจำเป็นของการบริหารภาครัฐยุคใหม่ โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อความต้องการของประชาชนที่มีความสนใจต่อปัญหาสาธารณะมากขึ้น เปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเรียนรู้ข้อมูลอย่างรอบด้านและครบถ้วนเพียงพอในการตัดสินใจอย่างรู้เท่าทัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาความไม่เข้าใจและการยอมรับของประชาชนได้ แต่ปัญหาสำคัญที่ได้เกิดขึ้นก็คือ ประชาชนไม่เชื่อมั่นในข้อมูลรัฐ มีการบิดเบือนข้อมูล มีการโจมตีทาง Social Media ต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากความหลากหลายของข้อมูลพลังงานซึ่งมาจากหลายหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงพลังงาน ผลที่ตามมาคือภาครัฐประสบปัญหาความไม่ยอมรับในการดำเนินโครงการสำคัญต่างๆ
สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานจึงมีความจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นองค์ความรู้ด้านพลังงานของประเทศที่มีมาตรฐานระดับสากลและได้รับความเชื่อถือด้วยการสร้างเอกภาพของข้อมูลพลังงานไทย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำ “โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพลังงานทดแทนและพลังงานอื่นๆ ของประเทศไทยเพื่อการประชาสัมพันธ์” จะเป็นจุดเริ่มในการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือลดช่องว่างในการสร้างความเชื่อมั่นต่อข้อมูลพลังงานของไทย อันจะนำไปสู่การยอมรับของภาคประชาชนและร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
เอกสารประกอบการบรรยาย
ครั้งที่ 1: การจัดประชุมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ และประสิทธิภาพพลังงาน”
08/07/2015 (09.00 – 12.00)
ภาพรวมเศรษฐกิจ การเงิน และมุมมองด้านพลังงาน
ภาพพลังงานและทิศทางการพัฒนาด้านประสิทธิภาพพลังงาน
****************************************
ครั้งที่ 2: การจัดประชุมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ “ทิศทางในอนาคตและร่างแผนพลังงานทดแทน”
08/07/2015 (13.00 – 16.00)
เทคโนโลยีในอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์
มุมมองของภาคอุตสาหกรรมที่มีต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน