การเสวนาโต๊ะกลมชุดยุทธศาสตร์วิจัยเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคต
(Sustainability Transitions)
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.30 – 16.45 น.
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยพลังงาน ชั้น 12 อาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปมปัญหาสำคัญของการพัฒนาในโลกยุคปัจจุบัน รวมทั้งความขัดแย้งสืบเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในทรัพยากรและในโอกาสระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันการเจรจาระดับโลกในเรื่องการค้าการลงทุนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประสบความล้มเหลวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างกว้างขวางถึงสถานการณ์ที่มนุษย์โลกเดินเข้าสู่ทางตันของความเสี่ยงอันตรายระดับโลก (Global Risks) โดยไม่เห็นทางออก
อย่างไรก็ดีเมื่อปลายปี พ.ศ. 2558 ท่ามกลางบรรยากาศความหดหู่และท้อแท้ในระดับโลกได้มีประกายแห่งความหวังขึ้น เมื่อผู้นำของประชาคมโลกบรรลุฉันทามติ เรื่อง มุ่งมั่นแปรเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาร่วมกัน และภูมิภาคอาเซียนก้าวเข้าสู่ยุคประชาคมข้ามแดน น่าจะถือได้ว่าเป็นแสดงเจตนารมณ์เอกฉันท์กันในการให้สัญญาณต่อกันในการปลดเงื่อนปมของความเสี่ยงอันตรายระดับโลกและผืนพิภพ ตลอดจนในระดับประเทศและภูมิภาค พื้นที่ทางความคิดและพื้นที่นโยบายจึงมีบรรยากาศเปิดกว้างขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
โดยที่อนาคตเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับทุกคน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง ระยะเฉพาะหน้า (รวมทั้งประเด็นรัฐธรรมนูญ ฯลฯ) ของประเทศเรายังขาดความแน่นอนชัดเจนก็ตาม การสร้างเงื่อนไขเพื่อให้เราสามารถร่วมคิดร่วมถกอย่างจริงจังเพื่อสังคมประเทศระยะยาว เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การระดมความรู้ความคิดเห็นเพื่อเพ่งพิจารณาโอกาสและความเสี่ยงของประเทศของโลกข้างต้น จึงเป็นเงื่อนไขเชิงบวกที่ไม่อาจมองข้ามได้ ทั้งนี้เพื่อทุกฝ่ายที่มีความห่วงใยจะมีส่วนช่วยให้สังคมสามารถพ้นจาก “กับดัก” ความขัดแย้งแยกขั้วแบบเดิมและจากแรงกดดันจากปัญหาเฉพาะหน้า ให้หันมาพิจารณาโจทย์เชิงอนาคต (Future – oriented) อย่างจริงจังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับนโยบาย (Science – Policy interface) โดยอาศัยมุมมองสหสาขาวิชาการและประสบการณ์ข้ามภาคส่วนด้วย
วัตถุประสงค์
1. ระดมความคิดเห็นในการพิจารณาความสำคัญของมิติใหม่ของโจทย์ในระดับโลก ภูมิภาค โดยเฉพาะโอกาสและความเสี่ยงของประเทศไทย
2. ถกแถลงแบบโต๊ะกลมระหว่างภาคีจากเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาคนโยบายและ
ภาคสังคมเศรษฐกิจ โดยอาศัยการตื่นตัวต่อ “จุดเปลี่ยน” ในโลกและภูมิภาคข้างต้น
3. เสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการและการวิจัยในโอกาสเตรียมจุฬาฯ 100 ปี และโดยเฉพาะระดมประเด็นยุทธศาสตร์การวิจัยอันจะช่วยให้ความเป็น “มหาวิทยาลัยวิจัย”
มีการปรับเปลี่ยนเชิงทิศทาง นโยบาย และสาระสำคัญ
การเสวนาวิชาการครั้งที่ 1
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goal, SDG)
กับโอกาสและความเสี่ยงของไทยในด้านพลังงานยั่งยืน
โดย สถาบันวิจัยพลังงาน (ERI) ร่วมกับ เครือข่ายสถาบันวิจัยจุฬาฯ (CURIN)
และ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.30 – 16.45 น.
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยพลังงาน ชั้น 12 อาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเด็นย่อย
- ฉันทามติโลก Post 2015 และ COP21 บอกอะไรแก่สังคมไทย: โอกาสและความเสี่ยง
- ด้านนโยบายพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายหลังมติ SDG และ COP21
- ต้นทุนแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยบนเส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- บทเรียนเกี่ยวกับจุดอ่อนหรือประเด็นที่ผู้กำหนดนโยบายและนักลงทุนมักมองข้าม
ส่งผลให้โครงการพัฒนาพลังงาน โดยเฉพาะ โครงการโรงไฟฟ้า ขาดการยอมรับของสาธารณะ - อื่นๆ
กำหนดการ
12.30 – 13.30 ลงทะเบียนและรับของว่าง
13.30 – 13.50 บรรยายเปิดประเด็น SDGs กับ COP21 บอกอะไรกับสังคมไทย: โอกาสและความเสี่ยง
โดย ศ. สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพฯ จุฬาฯ
และ รศ. ดร. ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ
13.50 – 16.00 อภิปรายโต๊ะกลม
วิทยากร: - ดร. เดชรัตน์ สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์
- ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
- นส. จริยา เสนพงศ์ กรีนพีชเอเซียตะวันออกฉียงใต้
- ดร. ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
- ดร. โสภิตสุดา ทองโสภิต นักวิจัย AR สถาบันวิจัยพลังงาน
ดำเนินการอภิปรายโดย รศ. ภก. ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และประธาน CURIN
16.00 – 16.45 สรุปและปิดประชุมโดย ศ. สุริชัย หวันแก้ว