การหาเงื่อนไขที่เหมาะสมเชิงแสงและความร้อนของแผงรับแสงอาทิตย์รางพาราโบลาแบบผสมที่ไม่ต้องอาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์

การหาเงื่อนไขที่เหมาะสมเชิงแสงและความร้อนของแผงรับแสงอาทิตย์รางพาราโบลาแบบผสมที่ไม่ต้องอาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์

Optical and Thermal Optimization of Non-Tracking CPC Solar Collector

งานประชุมวิชาการระดับชาติเนื่องในวันสหวิทยาการ เรื่อง “นวัตกรรมกับการวิจัยและพัฒนาแบบสวิทยาการ” วันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕

ปวีณา แดงโนรี1 และ ดร.วัฒนา รติสมิทธ์2

1 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

2สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

บทคัดย่อ

แผงรับแสงอาทิตย์รางพาราโบลาแบบผสม ได้รับความสนใจอย่างมากในอุตสาหกรรมที่ใช้กระบวนการทำความร้อนหรือระบบการทำความเย็นที่ต้องการอุณหภูมิใช้งานมากกว่า 100 องศาเซลเซียส รางพาราโบลาแบบผสมมีความสามารถในการรับแสงได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องมีระบบติดตามดวงอาทิตย์ที่มีความเที่ยงตรง  การหาเงื่อนไขที่เหมาะสมเชิงแสงของแผงรับแสงอาทิตย์รางพาราโบลาแบบผสมอาศัยการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต โดยพิจารณาอัตราการรวมแสงที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง  2 – 4 เท่า โดยมีตัวดูดซับรังสีที่มีลักษณะเป็นแผ่นราบ จากการทดลองพบว่ารางพาราโบลาแบบผสมที่มีอัตราการรวมแสงเท่ากับ 3.2 เท่า สามารถรับแสงได้ยาวนาน 5 ชั่วโมงโดยไม่สูญเสียปริมาณรังสี ในขณะเดียวกันยังมีความสามารถในการรับรังสีกระจายได้ดี แผงรับแสงอาทิตย์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้รับรังสีได้ตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องอาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์ โดยการประกอบรางพาราโบลาแบบผสมหลายรางที่ทำมุมในทิศต่างๆกันเข้าด้วยกัน ข้อดีของแผงรับแสงอาทิตย์ที่ออกแบบนี้คือสามารถทำอุณหภูมิได้สูงกว่าแผงรับแสงแบบแผ่นราบหรือแบบท่อแก้วสุญญากาศ โดยทำอุณหภูมิได้สูงสุดอยู่ที่ 180  องศาเซลเซียส ดังนั้นแผงรับแสงอาทิตย์นี้จึงมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานที่ต้องการอุณหภูมิสูง เช่น การใช้งานในกระการทำความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมหรือระบบทำความเย็น

in: Energy Policy-Conference Proceedings
total views : 3,097 views