เรื่องทั่วไป
 

 

สนพ.ได้นำผลการสำรวจเสนอคณะทำงานโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซขีวภาพรับทราบแล้ว และได้จัดทำเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ"โครงการส่งเสิรมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ เพื่อจัดการของเสียจากเศษอาหาร จากโรงแรมและสถานประกอบการต่าง ๆ" สำหรับกลุ่มเป้าหมาย3 กลุ่ม

 

 

หัวข้อ
กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
กลุ่มโรงแรมและศูนย์การค้า
กลุ่มสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย


1.เป้าหมายการสนับสนุน


จำนวน 12 ระบบ
ปริมาณเศษอาหารตั้งแต่
200 กก.ขยะ/วันขึ้นไป


จำนวน 5* ระบบ
ปริมาณเศษอาหารตั้งแต่
20 กก.ขยะ/วันขึ้นไป


จำนวน 3 ระบบ
ปริมาณเศษอาหารตั้งแต่
20 กก.ขยะ/วันขึ้นไป

2.วงเงินสนับสนุนรวม
(ส่วนค่าที่ปรึกษา+เงินลงทุนระบบ)

11,904,000 บาท
4,9600,000 บาท
2700,000 บาท
รวมเงินสนับสนุน
19,564,000 บาท

 

   
  คุณสมบัติของผู้รับการสนับสนุน
   

1.เป็นระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหาร ที่มีความสามารถในการรองรับปริมาณขยะเศษอาหารได้ตั้งแต่ 200 กิโลกรัมขยะสด/วันขึ้นไป

2.มีระบบการนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้ประโยชน์ในรูปพลังงานทดแทน โดยอาจใช้ก๊าซชีวภาพผลิตเป็นพลังงานความร้อนทดแทนการใช้เชื้อเพลิงอื่น ใช้ในการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนเพื่อผลิตน้ำเย็นด้วย Absorption Chiller หรือใช้ในการผลิตพลังงานความร้อนร่วมในรูปแบบ Cogeneration เป็นต้น

3.กรณีที่การใช้ประโยชน์ก๊าซชีวภาพมีลักษณะการใช้งานที่ไม่สม่ำเสมอ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องนำเสนอรายละเอียดวิธีการเก็บสำรองก๊าซชีวภาพที่มีปริมาณ การเก็บสำรองก๊าซสัมพันธ์กับปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ อัตราการใช้ก๊าซชีวภาพและช่วงเวลาของการใช้ก๊าซชีวภาพ ทั้งนี้ หากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ มีลักษณะการใช้งานที่ไม่สม่ำเสมอ ระบบต้องเก็บสำรองก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ในแต่ละวันได้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

4. ระบบที่จะจัดสร้างต้องมีแนวทางจัดการของเสียหรือน้ำทิ้ง โดยอาจนำไปใช้ประโยชน์ในรูปสารปรับปรุงดิน หรือมีการบำบัดของเสียหรือน้ำทิ้งดังกล่าวให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องนำเสนอแนวทางและวิธีการที่ชัดเจน ในการจัดการของเสียหรือน้ำทิ้งดังกล่าว

5. การออกแบบระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ระบบเก็บสำรองก๊าซชีวภาพ และระบบการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ มีเกณฑ์ขั้นต่ำของการออกแบบ ดังนี้

  • 5.1 ระบบจะต้องมีระยะเวลากักเก็บเชิงชลศาสตร์ (Hydraulic retention time, HRT) ซึ่งคำนวณจากปริมาตรประสิทธิผล (Effective Volume) ของถังหมัก (หน่วย : ลบ.ม.) ต่อขนาดการรับปริมาณของเสียเศษอาหาร (หน่วย : กิโลกรัม/วัน) x (1/1,000) โดยตั้งสมมติฐานว่า เศษอาหาร 1 ลบ.ม. มีน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม ดังรายละเอียดดังนี้
  • 5.2 ระบบผลิตก๊าซชีวภาพควรมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยและระบบเตือนภัยขั้นต้นอย่างน้อย ได้แก่ ระบบระบายแรงดันก๊าซเกินหรือต่ำกว่าแรงดันบรรยากาศ ระบบป้องกันเปลวไฟย้อนกลับ การจัดวางอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งนี้ให้มีความเหมาะสม เพื่อลดโอกาสการสัมผัสประกายไฟของก๊าซชีวภาพ ป้ายเตือนและแผนการป้องกันภัย รวมทั้งขั้นตอนการปฏิบัติในยามฉุกเฉิน

6. ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพและระบบนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการเริ่มต้นเดินระบบ (Start up) ต้องใช้เวลาไม่เกิน 120 วัน นับจากวันที่ได้ลงนามในข้อตกลงเข้าร่วมโครงการ

 

  เกณฑ์การพิจารณา
   

1.ข้อเสนอทางเทคนิค (20 คะแนน) พิจารณาให้คะแนนความเหมาะสมของข้อมูลทางเทคนิค ตามหัวข้อและปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • ระบบการผลิตก๊าซชีวภาพและระบบนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ (10 คะแนน)
  • ปริมาณของเสียและการจัดการของเสียในปัจจุบัน
  • ประสบการณ์ของผู้ดำเนินโครงการ (5 คะแนน)

2.ข้อเสนอทางการเงิน (10 คะแนน) พิจารณาให้คะแนนความเหมาะสมของรายละเอียดข้อมูลทางการเงินของโครงการ โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องนำเสนอรายละเอียดราคาระบบแยกย่อยตามปริมาณงาน ปริมาณวัสดุ อุปกรณ์ ค่าจ้างบุคลากร หรือแรงงานต่างๆ โดยแสดงอัตราค่าจ้างหรือราคาต่อหน่วย จำนวน และราคารวมซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอากรอื่น และค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้แล้ว โดยรายละเอียดดังกล่าวต้องเพียงพอต่อการประเมินความเหมาะสมของราคาระบบที่ได้เสนอไว้ ทั้งนี้ราคาที่เสนอจะต้องกำหนดยืนราคาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับแต่วันที่ได้ยื่นข้อเสนอ

3.ในการพิจารณาให้คะแนนข้อเสนอ จะพิจารณาจากระดับการให้คะแนน 3 ระดับ (คิดเทียบ 100%) ได้ดังนี้

0%

มีความเป็นไปได้น้อยมาก ไม่มีรายละเอียดในหัวข้อดังกล่าว

50%

มีความเป็นไปได้พอสมควร หรือมีรายละเอียด เอกสาร หลักฐานที่สนับสนุนให้พอเชื่อถือได้

100%

มีความเป็นไปได้มาก มีตัวอย่างการดำเนินงาน หรือมีรายละเอียด เอกสาร หลักฐานต่างๆ สนับสนุนหรือยืนยันให้เชื่อถือได้

4.การพิจารณาให้เงินสนับสนุน ข้อเสนอต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาทั้งข้อเสนอทางเทคนิคข้อเสนอทางการเงิน และข้อเสนอด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

5.ข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาตามข้อ 4 จะได้รับการจัดเรียงลำดับข้อเสนอตามอัตราส่วนมูลค่าวงเงินที่ขอรับการสนับสนุนต่อปริมาณการรับขยะเศษอาหารของระบบ (บาท/กิโลกรัมขยะ เศษอาหารต่อวัน) โดยจะพิจารณาให้เงินสนับสนุนกับโครงการที่มีมูลค่าวงเงินสนับสนุนต่อปริมาณ การรับขยะเศษอาหาร (บาท/กิโลกรัมขยะเศษอาหารต่อวัน) ต่ำสุดเป็นลำดับแรก แล้วจึงพิจารณาลำดับถัดไป จนครบกำหนดเป้าหมาย (ระยะที่ 2) ของการส่งเสริม

 

  การขอรับการสนับสนุน
  ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องยื่นซองข้อเสนอที่ปิดผนึกซองเรียบร้อย จ่าหน้าซองถึง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีจดหมายที่ลงนามโดยผู้มีอำนาจในการลงนามหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยลายลักษณ์อักษรจากผู้ที่มีอำนาจลงนาม พร้อมกับประทับตรา (ถ้ามี) โดยจ่าหน้าซองที่ปิดผนึกให้ชัดเจนว่า การยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุน
โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเพื่อจัดการของเสียเศษอาหารจากโรงแรมและสถานประกอบการต่างๆ ระยะที่ 2
การยื่นซองข้อเสนอสามารถยื่นได้ 2 วิธี
   

1) ยื่นด้วยตนเองที่ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารสถาบัน 3 ชั้น 12 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

2) ยื่นทางไปรษณีย์ โดยจ่าหน้าซองตามที่อยู่ด้านบน

หมายเหตุ ก่อนยื่นซองข้อเสนอ ผู้ยื่นข้อเสนอควรตรวจดูเอกสารต่างๆให้ถี่ถ้วนและเข้าใจเอกสารเชิญชวนฯ ทั้งหมด ก่อนที่จะยื่นข้อเสนอ โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องยื่นข้อเสนอแยกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1) ซองเอกสารหลักฐาน ตามข้อ 2.6จำนวน 2 ชุด(ต้นฉบับ 1 ชุดและสำเนา 1 ชุด พร้อมรับรองสำเนาทุกชุด)
2) ซองข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนออื่นๆจำนวน 8 ชุด(ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนา 7 ชุด พร้อมรับรองสำเนาทุกชุด และอิเล็คทรอนิกส์ไฟล์บันทึกลงบนซีดี 1 ชุด)
3) ซองข้อเสนอทางการเงินจำนวน 8 ชุด(ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนา 7 ชุด พร้อมรับรองสำเนาทุกชุด และอิเล็คทรอนิกส์ไฟล์บันทึกลงบนซีดี 1 ชุด)

 

  เอกสารดาวน์โหลด
   

 

1.แบบยื่นข้อเสนอทางการเงิน

2.แบบยื่นข้อเสนอทางเทคนิค

3.เอกสารเชิญชวน Phase 2