แผงรับแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลาผสมที่ไม่อาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์สำหรับการทำความเย็น

แผงรับแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลาผสมที่ไม่อาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์สำหรับการทำความเย็น

Non-Tracking CPC Solar Collector for Cooling Application

ภัททิรา ล้อมเล็ก ดร.วัฒนา รติสมิทธ์2 และ รศ.ดร. วิทยา ยงเจริญ

1หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

2สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

3ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

บทคัดย่อ

การออกแบบรางพาราโบลาแบบผสมที่ไม่อาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบใหม่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับระบบทำความเย็น เนื่องจากสามารถทำความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 100 องศาเซลเซียส และสามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาต่างๆ ได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องอาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์ สำหรับแผงรับแสงอาทิตย์จะประกอบด้วยรางพาราโบลาหลายรางที่มีอัตราการรวมแสงประมาณ 3.2 เท่า หันหน้าเข้าสู่ดวงอาทิตย์ที่ขนาดมุมแตกต่างกัน และทุกรางจะมีแผ่นดูดซับ แผงรับแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลาผสมนี้สามารถทำอุณหภูมิได้สูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบ และแบบหลอดแก้วสุญญากาศ ซึ่งอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 180 องศาเซลเซียส ส่วนการประยุกต์ใช้กับระบบทำความเย็นนั้น แผงรับแสงอาทิตย์จะต่อเข้ากับเครื่องทำความเย็นแบบดูดกลืนขนาด 23 กิโลวัตต์ และเครื่องเป่าลมเย็นขนาด 80,000 บีทียู ผลจากแบบจำลองพบว่า ขนาดพื้นที่รับแสงของแผงแสงอาทิตย์ 60 ตารางเมตร จะสามารถจ่ายพลังงานให้กับระบบทำความเย็นได้ 100% ดังนั้นแผงรับแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลาผสมแบบใหม่นี้จึงเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบทำความเย็น

in: Energy Policy-Conference Proceedings
total views : 5,463 views