การหาเงื่อนไขที่เหมาะสมของแผงรับแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลา ที่ไม่อาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์

การหาเงื่อนไขที่เหมาะสมของแผงรับแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลา

ที่ไม่อาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์

Optimization of Non-Tracking Parabolic Troughs Solar Collector

งานประชุมวิชาการระดับชาติเนื่องในวันสหวิทยาการ เรื่อง “นวัตกรรมกับการวิจัยและพัฒนาแบบสวิทยาการ” วันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕

ปกรณ์ ประเสริฐเพชรมณี1 และ ดร.วัฒนา รติสมิทธ์2

1หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

2สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

บทคัดย่อ

รูปร่างที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรางพาราโบลาที่ไม่อาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์ สามารถคำนวณโดยการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของการจำลองทางเรขาคณิตและตัวเลข ซึ่งนวัตกรรมการออกแบบของรางพาราโบลาแบบใหม่ที่ไม่อาศัยระบบติดตามดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยรางพาราโบลาที่มีจุดโฟกัสต่ำและหลอดแก้วสูญญากาศที่วางซ้อนกันในแนวแกนของแต่ละราง ผลการคำนวณเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่ารางพาราโบลามีอัตราการรวมแสงที่มีค่าเป็น 2 เท่า ซึ่งมีความสามารถในการรับแสงอาทิตย์เป็นเวลา 6 ชั่งโมง โดยไม่มีการศูญเสียปริมาณรังสีและสามารถรับรังสีกระจายได้ในเวลาเดียวกัน แผงรับแสงอาทิตย์ซึ่งประกอบด้วยรางพาราโบลา 3 รางที่ทำมุมแตกต่างกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการรวมแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวันได้ยาวนานโดยไม่ต้องอาศัยระบบติดตามด้วยอาทิตย์ โดยข้อดีของการออกแบบนี้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ในทุกๆ มุม โดยไม่มีชิ้นส่วนใดๆ เคลื่อนไหวและมีความเหมาะสมกับทุกสภาพภูมิอากาศ การออกแบแผงระบแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลาสมารถทำอุณหภูมิได้สูงกว่าแผงรับแสงแบบแผ่นหรือแบบท่อแก้วสูญญากาศ จึงมีความเหมาะสมกับการใช้งานในที่อยู่อาศัยหรือกระบวนการทำความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม

in: Energy Policy-Conference Proceedings
total views : 3,945 views