การออกแบบและทดสอบระบบการรวมแสงอาทิตย์โดยแผ่นเรืองแสงเพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

การออกแบบและทดสอบระบบการรวมแสงอาทิตย์โดยแผ่นเรืองแสงเพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 8 วันที่ 2-4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 จังหวัดมหาสารคาม

นายฉัตรชัย ดำคำ1, ดร.วัฒนา รติสมิทธิ์2

1 นิสิตปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2 นักวิจัย สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

 

บทคัดย่อ

หลักการของการประยุกต์ใช้แผ่นเรืองแสงในการผลิตกระแสไฟฟ้านั้น เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยใช้ปริมาณเซลล์แสงอาทิตย์เท่าเดิม ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ในการผลิตประแสไฟฟ้าปริมาณเท่าเดิมได้ โดยระบบที่ได้ทำการออกแบบและพัฒนาขึ้นนั้น ประกอบไปด้วยแผ่นพลาสติกเจือด้วยสารเรืองแสง ซึ่งจะดูดซับแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ และปล่อยแสงที่มีความยาวคลื่นสูงว่าเดิม โดยแสงที่ปล่อยออกมาจะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณขอบของแผ่นเรืองแสง  ซึ่งสามารถที่จะรวมแสงจากขอบของแผ่นเรืองแสงให้มีความเข้มข้นขึ้นได้อีก โดยใช้เลนส์รูปทรงพาราโบลาประกอบ ( Compound Parabolic Lens) ต่อเชื่อมกับขอบของแผ่นเรืองแสง เพื่อที่จะรวมแสงที่ขอบของแผ่นเรืองแสง ส่งไปยังเซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่ติดกับอีกด้านหนึ่งของเลนส์ โดยจะมีข้อได้เปรียบคือสามารถทำให้แสงที่ได้ มีความเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิมที่ออกมาจากแผ่นเรืองแสง ซึ่งจะสามารถลดปริมาณการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ และนอกจากนี้ยังสามารถใช้ท่อใยแก้วนำแสงมาต่อกับชุดเลนส์ดังกล่าว เพื่อนำแสงที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการส่องสว่างในอาคารได้อีกด้วย

in: Energy Policy-Conference Proceedings
total views : 4,856 views