หลักการและเหตุผล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดบทบาทเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยระดับโลก เน้นการทำวิจัยทั้งเพื่อยกระดับการแข่งขันระดับโลก การทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของประเทศด้วยมาตรฐานสากลและเพื่อสร้างบุคลากรของประเทศให้สามารถใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญคือ การกำหนดแผนพัฒนามหาวิทยาลัยในประเด็นและปัญหาที่ประเทศไทยและโลกกำลังจะเผชิญในอนาคต โดยที่คลัสเตอร์พลังงาน ได้รับจัดสรรงบประมาณจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการในโครงการ ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงลึก ประจำปีงบประมาณ 2559 จำนวน 5,000,000.- บาท (ห้าล้านบาท) เพื่อให้ดำเนินการวิจัยด้านพลังงาน
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมงานวิจัยด้านพลังงาน ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นงานวิจัยด้านพลังงานทดแทนและการจัดหาพลังงาน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และทำการศึกษาวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างศาสตร์ที่สามารถนำไปอ้างอิงและเป็นประโยชน์ต่อการทีส่วนร่วมของสังคม และการตัดสินใจเชิงนโยบายของรัฐบาล
ผลผลิต
- สายวิทยาศาสตร์ เป็นผลงานตีพิมพ์ในฐาน ISI ที่มี Impact Factor
- สายสังคม เป็นผลงานที่ตีพิมพ์ในฐาน ISI หรือ SCOPUS หรือ TCI หรือผลงานที่มีผลกระทบในเชิงนโยบาย
- หมายเหตุ ผลงานตีพิมพ์ต้องไม่อยู่ใน Beall’s List และทุนวิจัยที่สนับสนุน 400,000 บาทต่อผลงานตีพิมพ์
สาขาของงานวิจัยที่เข้าข่ายรับทุน
พลังงานชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ นโยบายทางด้านพลังงาน และเทคโนโลยีพลังงานที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการรับสมัครและระยะเวลา
- ยื่นข้อเสนอโครงการโดยใช้แบบฟอร์มตามแนบ หรือ Download ได้ที่ www.eri.chula.ac.th ส่งมาที่ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารสถาบัน 3 ชั้น 12 (ผู้ประสานงาน คลัสเตอร์พลังงาน) โดยให้ส่งเอกสาร 3 ชุด พร้อมแนบ CD 1 แผ่น
- รับข้อเสนอตั้งแต่ 29 ธันวาคม 2558 – 29 มกราคม 2559
- ผู้ประสานงานคลัสเตอร์พลังงานคือ นายพันธ์ลพ รัตนพงศ์พันธ์ เบอร์ติดต่อ 087-036-2437
- เนื่องจากอาจเกิดปัญหาเอกสารสูญหาย ดังนั้นเมื่อผู้ประสานงานได้รับข้อเสนอโครงการจะแจ้งยืนยันให้ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการทราบทางโทรศัพท์/E-mail หากท่านไม่ได้รับการติดต่อกลับภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ขอให้โปรดติดต่อผู้ประสานงาน
เอกสารการรับสมัคร